วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมการศึกษา ได้จำแนกออกเป็นหมวดหมู่ (Domain) ซึ่ง บลูม (Bloom) และคณะ ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ  เรียกว่า หมวดการเรียน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และ ทักษะพิสัย
เวลาเรียนหนังสือ ครูมักจะบอกกับนักเรียนว่า หลังจากนักเรียนเรียนเรื่องนี้แล้ว นักเรียน ....
·      สามารถ "รู้และจดจำ" เรื่องนี้ ได้อย่างถูกต้อง
·      สามารถ "เข้าใจ" เรื่องนี้ ได้อย่างถูกต้อง
·      สามารถ "นำความรู้เรื่องนี้ไปใช้ ได้อย่างถูกต้อง
·      สามารถ "วิเคราะห์" เรื่องนี้ได้อย่างถูกต้อง
·      สามารถ "สังเคราะห์" เรื่องนี้ได้อย่างถูกต้อง
·      สามารถ "ประเมินค่า" เรื่องนี้ได้อย่างถูกต้อง
คำว่า "รู้และจดจำ" , "เข้าใจ" , "นำความรู้" , "วิเคราะห์" , "สังเคราะห์" และ "ประเมินค่า" คือระดับการเรียนรู้ของสติปัญญาผู้เรียนที่ครูอยากให้ถึงเป้าหมายในระดับต่าง ๆ 
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่
1. ความรู้ความจำ เป็นความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการ เปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ สามารถเปิดฟัง หรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อได้ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ เช่น นำหลักของการใช้ภาษาไทยไปใช้สื่อความหมายในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
4. การวิเคราะห์ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน เช่น คน 2 คน มองดูต้นไม้ต้นเดียวกัน
คนแรก วิเคราะห์ต้นไม้ ออกเป็น 4 ส่วน คือ ราก ลำต้น ใบ และ ดอก
คนที่สอง วิเคราะห์ต้นไม้ ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนดิน และ ส่วนใต้ดิน
5. การสังเคราะห์ ขั้นนี้เป็นความสามารถในการที่ผสมผสานย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้ เช่น การสรุปว่า งูเห่ามีประโยชน์ในวิชาทางการแพทย์ แต่สังคมโดยทั่วไปจะสรุปว่า งูเห่านั้นมีโทษ เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต

ตัวอย่างข้อสอบการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)ในระดับต่างๆ
1. ความรู้ความจำ (Knowledge)
          ข้อใดคือความหมายของ Hardware
. เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด
. เครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด พร้อมทั้งโปรแกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
.
เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งโปรแกรมต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง
2. ความเข้าใจ (Comprehension)
          การต่อสัญญาณภาพเข้าจอคอมพิวเตอร์ ต้องต่อกับพอร์ตใด

. USB Port                      . Pararell Port
. VGA Port                      .
Serial Port
3. การนำไปใช้ (Application)
          ต้องการสั่งให้โปรแกรม Authorware แสดงวันที่ จะต้องเขียนประโยคคำสั่งอย่างไร

. (FULLDATE)                            . {FULLDATE}
. [FULLDATE]                            .
FULLDATE ( )
4. การวิเคราะห์ (Analysis)
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดที่มีความสำคัญเรื่องการแสดงผลภาพ
. Ram                                      . CPU และ HDD
. HDD และ Rom                         .
Graphic Card

5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
       
เมื่อ     \* ได้ผลลัพธ์คือ
                  
\* ได้ผลลัพธ์คือ ”
          จงเขียนโค้ดเพื่อแสดงผลลัพธ์ข้อความต่อไปนี้
                  
‘\n’ is a New line character.
. printf( “\’\\n\’ is a New character.” );
. printf( “\’\\\n\’ is a New character.” );
. printf( “\’\\”\n\’ is a New character.” );
.
printf( “\’\\n\’ is a New character” );

6. การประเมินค่า(Evaluation)
          ข้อใดใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม
. ฟังเพลงและเล่นเกมส์ที่บ้านของตนเอง
. ดาวน์โหลดโปรแกรม Freeware มาใช้งาน
. บันทึกข้อมูลส่วนตัวลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน
. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อนเพื่อคัดลอกงาน

3 ความคิดเห็น: