วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 สรุป Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

บทที่ 4 สรุป Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

INSDIE OUT


1. สรุป เรื่อง INSDIE OUT
Inside Out  เป็นเรื่องราวของ ไรลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง และจำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ไรลีย์ไม่คุ้นเคย ชีวิตของไรลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ จนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข (Joy), ความกลัว(Fear), ความโกรธ (Anger), ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness) 
เมื่ออารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่­ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมส่วนกลางภายในจิตใจของ   ไรลีย์ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้ เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมือง
ทุกสถานการณ์ที่ตัวอารมณ์เหล่านี้ตอบสนอง จะก่อให้เกิดเป็นลูกบอลความทรงจำซึ่งจะไหลมาเก็บไว้ที่ ความทรงจำระยะสั้น ซึ่งอยู่ใกล้กับแผงควบคุม อารมณ์ทั้งห้าสามารถหยิบของพวกนี้มาใช้ได้ในทันที หลังจากนั้นลูกบอลบางส่วนจะถูกส่งไปยังสถานที่เก็บ ความทรงจำระยะยาว ซึ่งเกี่ยวพันกับการสร้างตัวบุคลิกของตัวไรลีย์ขึ้นมา

ตัวละครแทนอารมณ์

Joy ตัวแทนแห่งความสุข ผู้มีมาพร้อมร้อยยิ้มกว้างและเรื่องสนุกสนาน
Anger ตัวแทนของความรู้สึกโกรธ ผู้มาพร้อมกับไฟบนหัวยามเมื่อรู้สึกโมโหจัด เขาคือผู้ที่พร้อมจะถูกจุดระเบิดอยู่ตลอดเวลา
Disgust ตัวแทนของความรู้สึกรังเกียจ อารมณ์ที่จะแสดงออกถึงความไม่พอใจในทุกสิ่งทุกอย่างและมาพร้อมท่าทางยียวน ดูเหวี่ยงๆ ตลอดเวลา 
Fear ตัวแทนแห่งความรู้สึกกลัว ผู้ที่มาพร้อมความวิตกกังวลบนหางคิ้วซึ่งตกจนเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว
Sadness ตัวแทนของความรู้สึกโศกเศร้า ความรู้สึกที่มาพร้อมความมัวหมองตลอดเวลา


2. สิ่งที่ได้จาก INSDIE OUT
     1.     ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
     2.     ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
     3.     ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
     4.     ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
     5.     การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี
     6.     ความโกรธคือพลัง แต่...ต้องระวังมันเอาไว้ให้ดี
     7.     "ความเกลียด" และ "ความกลัว" ปกป้องเราได้
     8.     บางครั้งเราก็ต้องปล่อยวาง "อดีต" ไปบ้าง
     9.     ประสบการณ์ใหม่ๆ ช่วยให้เราได้เติบโต
     10. "ความรัก" ช่วยเราได้ในวันที่เรา "อ่อนแอ"


3. ทฤษฎีที่เกิดขึ้นในหนังเรื่อง INSDIE OUT จากทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitive Theories)
     1.     ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) จากหนัง ไรลีย์ เมื่อเขาลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ในภายในไรลีย์จะมีระบบจัดเก็บรวบรวมกระบวนการต่างๆอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก มีทั้งการซึมซาบประสบการณ์และการตีความต่างๆ
     2.     ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) จากหนังไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์ นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode
     3.     ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) จากหนังตอนที่มีตัวการ์ตูนที่เป็นเสมือนคนดูแลความสะอาดในเรื่องของความทรงจำถ้าความทรงจำไหนไม่เป็นประโยชน์ก็จะถูกทิ้งลงถังขยะไป ก็เปรียบเสมือนคนเราตามทฤษฎีของออซูเบล ที่กล่าวว่าถ้าสิ่งนั้นไม่สร้างความหมายให้ต่อผู้เรียนสิ่งนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์
     4.     ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) จากหนังเรื่องความทรงจำตอนแรกก็จะเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้น หลังจากนั้นถ้ามันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราเราก็จะจำและเป็นความทรงจำระยะยาว เหมือนในหนังInside Out ที่มีการเก็บความทรงจำของไรลีย์แทนลูกแก้วที่ใช้เก็บความทรงจำและเมื่อเป็นครบวันก็จะเอาไปเก็บเป็นความทรงจำระยะยาวต่อไป
     5.     ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ ไรลีย์ มีการทำงานกระบวนการต่างๆในการประมวลสารสนเทศ เช่น ความใส่ใจ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้จักคิดของตนเอง (Metacognition)

1 ความคิดเห็น:

  1. แล้วนศ สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างไร เป็นลูกวงกลมหรือเป็นกล่อง

    ตอบลบ