วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 3 ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม Behavioral Theories

การบ้าน บทที่ 3 ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม Behavioral Theories

บทที่ 3
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม ( Behaviorism Theories )
การเรียนรู้เป็นกระบวนการในการพัฒนาความสามารถ และศักยภาพของมนุษย์ในด้าน ต่าง ๆ อาทิ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ เป็นต้น  ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ได้รับความสนใจจากนักปรัชญาและนักจิตวิทยามาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งต่างก็มีแนวคิดหรือทัศนะที่หลากหลาย และได้พัฒนาไปเป็นรากฐานในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน
ฉะนั้น  เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาระบบการสอนจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเชิงจิตวิทยา โดยในรายงานฉบับนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับ “ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม” (Learning Theory : Behaviorism)
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ
1.      พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
2.      พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป
ทฤษฎีการเรียนรู้

         1.      ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ( Classical Conditioning Theory )หรือ แบบสิ่งเร้า
แนวคิดของพาฟลอฟ ( Pavlov )
         
อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร
          ซึ่งพาฟลอฟได้ทำการทดลองอาจจะอธิบายได้ ดังนี้
1.       สั่นกระดิ่งก่อนที่จะนำอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่ง และให้ผงเนื้อแก่สุนัข จะต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ    .25 ถึง    .50  วินาที
2.       กระทำซ้ำโดยสั่นกระดิ่งก่อนและให้ผงเนื้อแก่สุนัขควบคู่กันหลาย ๆ ครั้ง
3.       หยุด ให้อาหาร เพียงแต่สั่นกระดิ่งเท่านั้น ก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังมีน้ำลายไหลได้
           จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า พฤติกรรมของสุนัขได้ถูกวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก และเรียกการเรียนรู้ดังกล่าวว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก(Classical Conditioning)
และสรุป หลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้

แนวคิดของวัตสัน ( Watson )
          จอห์น บี วัตสัน
(John B. Watson .. 1878 – 1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งถือได้ว่า เป็นบิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม การทดลองทางจิตวิทยาที่เป็นที่รู้จักของวัตสันและเรเนอร์ (1920) ได้แก่ การทดลอง การวางเงื่อนไขเรื่องการตอบสนองความกลัวของอัลเบิร์ตกับเสียงดังคู่กับหนูขาว โดยให้เสียงดัง (สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข) คู่กับหนูขาว (สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข) ต่อมาให้แต่หนูขาว อัลเบิร์ตก็เกิด ความกลัวกระโดดหนี ซึ่งการตอบสนองนี้เป็นเรื่องของความกลัวที่ถูกวางเงื่อนไข (conditioned fear)
         
ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)  วัตสัน ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาว
จากแนวคิด วัตสัน สรุปได้ว่า
          1)
      พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
          2)      เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

        2.      ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบลงมือทำ ( Operant Conditioning Theory )
แนวคิดของธอร์นไดค์ ( Thorndike ) การเรียนรู้ คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยง (Bond) ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง และได้รับความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ธอร์นไดค์ได้ ทำการทดลองพบว่า การเรียนรู้ของอินทรีย์ ที่ด้อยความสามารถเกิดจากการลองผิดลองถูก ( Trial and Error )
         "สิ่งเร้าใดที่ทำให้เกิดการตอบสนองและการตอบสนองนั้นได้รับการเสริงแรงจะทำให้เกิดการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้ากับารตอบสนองนั้นเพิ่มมากขึ้น" ได้ทำการทดลองโดย
          1.จับแมวที่กำลังหิวไว้ในกรงและให้แมวได้หาทางออกเพื่อมากินอาหาร
         
2.แมวพยายามหาทางออกจนไปพบกับสลักที่ใช้เปิดประตูและออมากินอาหารได้
          3.ต่อมาพบว่าแมวใช้เวลาน้อยลงในการออกจากกรง
ซึ่งธอร์นไดต์ เรียกการเรียนรู้ของแมวว่าเป็น การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)

แนวคิดของสกินเนอร์ ( Skinner )
         
สกินเนอร์เชื่อว่า การเชื่อมโยงจะเกิดระหว่างสิ่งเสริมแรงและการตอบสนอง (Response ) ไม่ใช่เกิดระหว่างสิ่งเร้า ( Stimulus) และการตอบสนอง (Response )
          สำหรับการทดลองของ
 Skinner เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงกระทำโดยจับหนูที่กำลังหิวใส่ในกรงทดลอง ซึ่งภายในมีคานไม้ซึ่งถ้าหนูกดลงไปแล้วจะทำให้มีอาหารหล่นมาในกรงหนึ่งเม็ดและเมื่อใดก็ตามที่หนูบังเอิญไปกดคาน อาหารก็จะหล่นมาหนึ่งเม็ดทุกครั้ง
หนูกดคาน  โดย
1. นำหนูเข้าไปอยู่ในกล่อง Skinner box และเมื่อหนูกดคานที่อยู่ในกล่องจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเสียงแกรก
2. หนูมาเฝ้ากดคานและวิ่งไปรับอาหาร
3. สกินเนอร์งดให้อาหารเมื่อหนูกดคานแต่มีเสียงแกรกดังเดิม
4. หนูกดคาน 2-3ครั้งเท่านั้น และเลิกกดไป
จากการทดลองของสกินเนอร์ พบว่า หลังจากผ่านไประยะหนึ่งแล้วเมื่อหนูหิว หนูสามารถเดินไปกดคานได้เลยโดยไม่ต้องลองผิดลองถูกอีก นั้นหมายถึงว่าหนูเกิดการเรียนรู้แล้วและในการทดลองนี้สิ่งที่สกินเนอร์ให้ความสำคัญมากว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ คือ อาหารซึ่งเขาเรียกว่า ตัวเสริมแรง ( Reinforcer) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นให้หนูแสดงพฤติกรรมตอบสนองที่ต้องการ คือ การกดคาน

การเสริมแรง ( Reinforcement )
เสริมแรง (Reinforcement)
การเสริมแรงเป็นสภาวะการณ์ที่มีการให้ตัวเสริมแรงในการกระทำพฤติกรรมของอินทรีย์ โดยการ เสริมแรงจะแบ่งออกตามลักษณะของการวางเงื่อนไขได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่จะช่วยเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนอง และมักจะเป็นการให้สิ่งดีๆ เช่น ของขวัญ เงิน อาหาร เป็นต้น
2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำสิ่งที่ไม่พอใจ ไม่ชอบออกไปหรือเป็นการปรับสภาวะจากลบ (Negative) ไปเป็นกลาง ( Neutral ) แล้วเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนองที่ต้องการ (Carver and Scheier ,1996:341) เช่น นำความร้อนออกไปโดยการติดเครื่องปรับอากาศในฤดูร้อน ทำให้พนักงานพอใจกับสภาพแวดล้อมการทำงานมากขึ้น เป็นต้น
การลงโทษ (Punishment)
การลงโทษ (Punishment) เป็นการให้สิ่งที่ไม่พอใจ หรือเป็นการเปลี่ยนสภาพปกติ (Neutral ) ให้เป็นสภาวะที่เป็นลบ (Negative) เช่น การดุด่า การตี เป็นต้น หรืออีกลักษณะจะเป็นการนำสิ่งที่ชอบ (positive) ออกไปหรือทำให้กลับคืนสู่ปกติ (Neutral) เช่น การงดให้โบนัส การงดให้รางวัล เป็นต้น การลงโทษอาจช่วยระงับยับยั้งพฤติกรรมที่เป็นไปทางลบได้ในระยะสั้นๆ เช่น การดุด่าเด็กเมื่อเด็กเล่นรุนแรง ทำให้เด็กเลิกเล่นรุนแรงไปได้ชั่วครู่ แล้วไม่นานนักเด็กก็จะกลับมาเล่นรุนแรงอีก นอกจากนี้การลงโทษยังก่อให้เกิดความรู้สึกทางลบให้แก่เด็ก ซึ่งจะสะสมและอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางลบในลักษณะต่างๆ ได้ เช่น เด็กที่ถูกพ่อแม่ลงโทษด้วยการตีบ่อยๆ อาจจะไปแสดงความก้าวร้าวกับเพื่อนหรือชอบรังแกสัตว์อย่างนี้ เป็นต้น ดังนั้นในการปรับพฤติกรรมของเด็กจึงไม่ควรใช้การลงโทษแต่ควรนำการเสริมแรงมาใช้ซึ่งจะให้ผลดีกว่า การให้สิ่งเสริมแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น